มาทำความรู้จักกับโรคต่อมลูกหมากกันดีกว่า
โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มีเฉพาะในผู้ชาย
โดยอยู่คู่กับผู้ชายทุกคนมาตั้งแต่เกิด ต่อมลูกหมากอยู่บริเวณรอบท่อปัสสวะ
ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ และสารพีเอสเอ(PSA ; prostate specific
antigen) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำอสุจิไม่เกาะกันเป็นก้อนเหนียวข้น หลายๆ
ท่านคงจะมีญาติผู้ใหญ่ที่เป็นหรือได้ยินได้ฟังมาเกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโต
มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นโรคของชายสูงวัย
และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายวัยนี้มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะที่พบได้บ่อยมาก
ดังนั้น เราควรที่จะมาทำความรู้จักโรคต่อมลูกหมากโตกันดีกว่า
เนื้องอกของต่อมลูกหมากจะโตเริ่มพบได้หลังอายุ 40 ปี
แต่คนไข้ส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลัง 50 ปีไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
อุบัติการณ์การพบเนื้องอกของต่อมลูกหมากจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
แต่เป็นตภาวะที่สามารถรักษาได้ในผู้ชายที่มีอายุ 60-69 ปี
พบได้มากกว่าร้อยละ 50 และในผู้ที่มีอายุระหว่าง 70-89 ปี
จะพบประมาณร้อยละ 90
สาเหตุของต่อมลูกหมากโต
ยังไม่มีหลักฐานกานยืนยันถึงสาเหตุที่แท้จริงของต่อมลูกหมากโต
ขนาดของต่อมลูกหมากจะมีการโตขึ้นครั้งแรกจริงๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
และน่าจะสัมพันธ์กับระดับของฮอร์โมนเพศชาย หรือ testosterone ในช่วงอายุ 30-40
ปี
ต่อมลูกหมากจะมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย หลังจากนั้นก็จะหยุดโต จนกระทั่งอายุ 45-50
ปี
ก็อาจจะเกิดการขยายขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ
อาการของต่อมลูกหมากโต
อาการแสดงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการ อย่างแรกคือ อาการปัสสาวะบ่อย
ร่วมกับการอักเสบขัดได้
เนื่องจากการที่กระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นเพื่อเพิ่มแรงบีบตัวให้สามารถปัสสาวะผ่านรูแคบๆได้
และภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะจาการที่ปัสสาวะตกค้างออกไม่หมด และอาการกลุ่มที่
2 คือ การปัสสาวะลำบาก ไม่พุ่ง เบ่งนานกว่าจะออก
ซึ่งอาการส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในเนื้องอกของต่อมลูกหมากทำให้ท่อปัสสาวะตีบแคบลง
นอกจากนี้
ยังเกิดจากขนาดของต่อมลูกหมากที่โตไปกดเบียดอุดกั้นบริเวณคอของปัสสาวะ
อาการที่พบจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งสรุปได้ดังนี้
• ปัสสาวะไม่พุ่ง
ปัสสาวะสะดุด เบ่งนานกว่าจะออก
• เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะขึ้นมาทันที
และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
• มีปัสสาวะเล็ด
หรือไหลเป็นหยด ๆ ก่อนและหลังจากถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้ว
• ปัสสาวะบ่อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตทำได้โดยดูจากอาการ อายุของคนไข้
การซักประวัติเพื่อแยกสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับต่อมลูกหมากโตได้
เช่น ท่อปัสสวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะพิการ นอกจากนี้
แพทย์อาจจะให้ท่านทำการตอบแบบสอบถามอาการทางด้านปัสสาวะด้วยตนเอง
เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการหรืออาจใช้ติดตามผลการรักษาได้
จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจทางทวารหนักเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
และประเมินขนาดของต่อมลูกหมากเพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสม
ท่านอาจจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจหาระดับของสารพีเอสเอเพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ตรวจเลือดดูการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ และตรวจพิเศษอื่นๆ
เพื่อช่วยให้พบสาเหตุที่แท้จริงของอาการทางด้านปัสสาวะของท่าน เช่น การส่องกล้อง
การตรวจวัดความแรงของการปัสสาวะ
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
ในรายการที่อาการยังน้อยการปรับพฤติกรรมอาจช่วยทำให้อาการดีขึ้น
ได้แก่ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไปโดยเฉพาะเวลาจะเข้านอน งดกาแฟ ชา
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เข้าห้องน้ำบ่อย
หลีกเลี่ยงยาชหวัดชนิดลดอาการคัดจมูก เนื่องจากอาจจะทำให้กล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากมีการบีบตัวมากขึ้น
ถ้าอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้นแพทย์จะนิยมให้ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมาก ?-blockers
เพื่อทำให้อาการดีขึ้นเร็ว
แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดแก้ไขการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
ถ้ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่ ปัสสาวะไม่ออกหลายครั้ง มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นเลือดหรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก ไตวายเนื่องจากปัสสาวะลำบาก
ไม่ตอบสนอง ต่อการรักษาด้วยยารับประทาน
การรักษาด้วยการผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดซึ่งถือเป็นมาตรฐานในคนไข้ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต คือ
การส่องกล้องคว้านต่อมลูกหมาก(Transurenthral Resection of the Prostate;
TURP) เครื่องมือผ่านท่อปัสสาวะ
แพทย์จะมองผ่านทางกล้องแล้วตัดเอาเนื้องอกที่อุดตันท่อปัสสาวะออก
เป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนและเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่ออื่นๆ
น้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดผ่าตัดทั่วไป และต้องการระยะพักฟื้นที่สั้นกว่า
ส่วนการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้เลเซอร์ตัดต่อมลูกหมาก(Photoselective
Vaporization of Prostate; PVP) ยังมีราคาแพงมาก
และไม่ได้ชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจหามะเร็ง จึงไม่ได้รับความนิยม แต่มีข้อดีคือ
การผ่าตัดทำได้ง่ายกว่า เสียเลือดน้อยกว่า และกลับบ้านได้เร็วขึ้น
เรียบเรียงโดย รศ.นพ.สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ
แผนกสุขภาพเพศชาย
หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี |